1) ข้อมูล
2) สารสนเทศ
3) ลักษณะของข้อมูลที่ดี
ข้อมูลที่ดีจะต้องเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ในระดับที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยข้อมูลที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
- มีความถูกต้องและแม่นยำ
- มีความสมบูรณ์ครบถ้วน
- ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นปัจจุบัน
- ความสอดคล้องของข้อมูล
4) ชนิดและลักษณะของข้อมูล
ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (numeric data) คือข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่สามารถนำไปคำนวณได้ ซึ่งเขียนได้หลายรูปแบบคือ เลขจำนวนเต็มและเลขทศนิยม
5) ประเภทของข้อมูล
สามารถแบ่งประเภทของข้อมูลได้ 2 ปรเภทใหญ่ๆ ได้แก่
ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) คือข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง มีความถูกต้อง ทันสมัย
แบ่งประเภทของข้อมูลได้ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
1) การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
การรวบรวมข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน ซึ่งใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บข้อมูล
การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการรวบรวมข้อมูล ก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้อง
2) การประมวลผลข้อมูล
ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
การจัดกลุ่มข้อมูลข้อมูลที่จัดเก็บควรจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน
การจัดเรียงข้อมูล ควรจัดเรียงข้อมูลที่มีความสำคัญตามลำดับตัวเลขหรือตัวอักษรเพื่อสะดวกและประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล
การสรุปผลข้อมูล ควรสรุปข้อมูลเหล่านั้นให้กระชับและได้ใจความสำคัญ เพื่อรอการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
3) การจัดเก็บข้อและดูแลรักษาข้อมูล
ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
การเก็บรักษาข้อมูล การนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ
การทำสำเนาข้อมูล การคัดลอกข้อมูลจากต้นฉบับเพื่อเก็บรักษา หากข้อมูลต้นฉบับเสียหาย ก็สามารถนำข้อมูลที่ทำสำเนาไว้มาใช้ได้ในทันที
4) การแสดงผลข้อมูล
การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล เป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทอย่างมาก
การปรับปรุงข้อมูล ควรมีการติดตามผลตอบกลับ (feedback) เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
1) ระบบเลขฐานสอง
การสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ จะต้องอาศัยระบบเลขฐานสอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าโดยแทนตัวเลข 0 และ 1
2) รหัสแทนข้อมูล
เพื่อให้การแลกเปลี่ยนข้อความระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์เป็นไปในแนวเดียวกัน จึงมีการกำหนดมาตรฐานรหัสแทนข้อมูลในระบบฐานสองขึ้น โดยมีรายละอียดต่างๆดังนี้
รหัสแอสกี (American Standard Code Information Interchange : ASCII) เป็นรหัสแทนข้อมูลด้วยเลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือเท่ากับ 1 ไบต์ แทนอักขระหรือสัญลักษณ์แต่ละตัว
3) การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
บิต (bit) คือ ตัวเลขหลักใดหลักหนึ่ง ในระบบเลขฐานสอง (0 กับ 1) ซึ่งเป็นหน่วยมี่เล็กที่สุดของมวล
ตัวอักขระ (character) คือ ตัวเลข ตัวอักษร หรือเครื่องหมายใดๆ โดยตัวอักขระแต่ละตัวจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือ 1 ไบต์ ในการแทนข้อมูล
เขตข้อมูล (field) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระเรียงต่อกัน เพื่อแทนความหมายใดความหมายถึงหนึ่ง
ระเบียนข้อมูล (record) คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ตั้งแต่เขต 1 ข้อมูลขึ้นไป
แฟ้มข้อมูล (file) คือ กลุ่มของระเบียนข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันตั้งแต่ 1 ระเบียนขึ้นไป
ฐานข้อมูล (database) เป็นที่รวบรวมแฟ้มข้อมูลหลายๆแฟ้มเข้าด้วยกัน และสัมพันธ์กันโดยใช้เขตข้อมูลที่เหมือนกันเป็นตัวเชื่อมข้อมูล
จริยธรรมในการใช้ข้อมูล
1) ความเป็นส่วนตัว (privacy) ก่อนที่จะเผยแพร่ต้องคำนึงถึงความส่วนตัวสูง เช้น หมายเลขบัตรต่างๆ
2) ความถูกต้อง (accuracy) ก่อนที่จะเผยแพร่ข้อมูลใดๆควรตรวจสอบความถูกต้องเพราะถ้าไม่ตรวจสอบข้อมูลก็ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เลย
3) ความเป็นเจ้าของ (property) ผู้ใช้ควรระมัดระวังในการนำข้อมูลต่างๆมาใช้งานว่าได้รับอนุญาตจากเจ้าของหรือไม่
4) การเข้าถึงข้อมูล (accessibility) การใช้งานคอมพิวเตอร์มักมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน เพื่อป้องกันและรักษาความลับของข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำถาม ระบบฐานสองมีกี่ตัว อะไรบ้าง
ตอบ 2 ตัว คือเลข 0 กับ 1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น