วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ และการจัดการ

ข้อมูลและสารสนเทศ
    1) ข้อมูล

            ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นหรือมีลักษณะหลายอย่างผสมผสานเข้าด้วยกัน
    2) สารสนเทศ


             สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ซึ่งถูกต้องแม่นยำและตรงกับความต้องการของผู้ใช้
    3) ลักษณะของข้อมูลที่ดี
             ข้อมูลที่ดีจะต้องเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ในระดับที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยข้อมูลที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
                 - มีความถูกต้องและแม่นยำ
                 - มีความสมบูรณ์ครบถ้วน
                 - ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นปัจจุบัน
                 - ความสอดคล้องของข้อมูล
    4) ชนิดและลักษณะของข้อมูล
ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
             ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (numeric data) คือข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่สามารถนำไปคำนวณได้ ซึ่งเขียนได้หลายรูปแบบคือ เลขจำนวนเต็มและเลขทศนิยม


             ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (character data) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษรและไม่สามารถนำไปคำนวณได้ แต่นำมาเรียงต่อกันให้มีความหมายได้
    5) ประเภทของข้อมูล
สามารถแบ่งประเภทของข้อมูลได้ 2 ปรเภทใหญ่ๆ ได้แก่
              ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) คือข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง มีความถูกต้อง ทันสมัย


              ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) คือ ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือเรียบเรียงไว้แล้ว ซึ่งเป็นข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้


กระบวนการจัดการสารสนเทศ
  แบ่งประเภทของข้อมูลได้ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
     1) การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
              การรวบรวมข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน ซึ่งใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บข้อมูล
              การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการรวบรวมข้อมูล ก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้อง
     2) การประมวลผลข้อมูล
  ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
              การจัดกลุ่มข้อมูลข้อมูลที่จัดเก็บควรจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน
              การจัดเรียงข้อมูล ควรจัดเรียงข้อมูลที่มีความสำคัญตามลำดับตัวเลขหรือตัวอักษรเพื่อสะดวกและประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล
               การสรุปผลข้อมูล ควรสรุปข้อมูลเหล่านั้นให้กระชับและได้ใจความสำคัญ เพื่อรอการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
     3) การจัดเก็บข้อและดูแลรักษาข้อมูล
   ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
              การเก็บรักษาข้อมูล การนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ
              การทำสำเนาข้อมูล การคัดลอกข้อมูลจากต้นฉบับเพื่อเก็บรักษา หากข้อมูลต้นฉบับเสียหาย ก็สามารถนำข้อมูลที่ทำสำเนาไว้มาใช้ได้ในทันที
    4) การแสดงผลข้อมูล
              การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล เป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทอย่างมาก
              การปรับปรุงข้อมูล ควรมีการติดตามผลตอบกลับ (feedback) เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
  1) ระบบเลขฐานสอง
           การสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ จะต้องอาศัยระบบเลขฐานสอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าโดยแทนตัวเลข 0 และ 1

   2) รหัสแทนข้อมูล
           เพื่อให้การแลกเปลี่ยนข้อความระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์เป็นไปในแนวเดียวกัน จึงมีการกำหนดมาตรฐานรหัสแทนข้อมูลในระบบฐานสองขึ้น โดยมีรายละอียดต่างๆดังนี้
                รหัสแอสกี (American Standard Code Information Interchange : ASCII) เป็นรหัสแทนข้อมูลด้วยเลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือเท่ากับ 1 ไบต์ แทนอักขระหรือสัญลักษณ์แต่ละตัว


                รหัสยูนิโค้ด (Unicode) เป็นรหัสแทนข้อมูลด้วยเลขฐานสองจำนวน 16 บิต เนื่องจากตัวอักษรบางประเภทเป็นตัวอักษรแบบรูปภาพ


   3) การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
                บิต (bit) คือ ตัวเลขหลักใดหลักหนึ่ง ในระบบเลขฐานสอง (0 กับ 1) ซึ่งเป็นหน่วยมี่เล็กที่สุดของมวล
                ตัวอักขระ (character) คือ ตัวเลข ตัวอักษร หรือเครื่องหมายใดๆ โดยตัวอักขระแต่ละตัวจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือ 1 ไบต์ ในการแทนข้อมูล
                 เขตข้อมูล (field) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระเรียงต่อกัน เพื่อแทนความหมายใดความหมายถึงหนึ่ง
                 ระเบียนข้อมูล (record) คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ตั้งแต่เขต 1 ข้อมูลขึ้นไป
                 แฟ้มข้อมูล (file) คือ กลุ่มของระเบียนข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันตั้งแต่ 1 ระเบียนขึ้นไป
                 ฐานข้อมูล (database) เป็นที่รวบรวมแฟ้มข้อมูลหลายๆแฟ้มเข้าด้วยกัน และสัมพันธ์กันโดยใช้เขตข้อมูลที่เหมือนกันเป็นตัวเชื่อมข้อมูล

จริยธรรมในการใช้ข้อมูล
   1) ความเป็นส่วนตัว (privacy) ก่อนที่จะเผยแพร่ต้องคำนึงถึงความส่วนตัวสูง เช้น หมายเลขบัตรต่างๆ
   2) ความถูกต้อง (accuracy) ก่อนที่จะเผยแพร่ข้อมูลใดๆควรตรวจสอบความถูกต้องเพราะถ้าไม่ตรวจสอบข้อมูลก็ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เลย
   3) ความเป็นเจ้าของ (property) ผู้ใช้ควรระมัดระวังในการนำข้อมูลต่างๆมาใช้งานว่าได้รับอนุญาตจากเจ้าของหรือไม่
   4) การเข้าถึงข้อมูล (accessibility) การใช้งานคอมพิวเตอร์มักมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน เพื่อป้องกันและรักษาความลับของข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต


คำถาม ระบบฐานสองมีกี่ตัว อะไรบ้าง
ตอบ 2 ตัว คือเลข 0 กับ 1
              

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

วามหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
        เทคโนโลยี (Technology) การนำความรู้หรือวิทยาการทางด้านวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ในการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ หรือแม้กระทั่งสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้
         สารสนเทศ (Information) ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ต่างๆที่ผ่านกระบวนการประมวลผลอย่างมีระบบ
         การสื่อสาร (Communication) การส่งข้อมูลข่าวสารโดยอาศัยสื่อเป็นตัวกลาง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองให้เป็นไปตามผู้ส่งข่าวสารต้องการ
    

เทคโนโลยีสารสนเทศ
         เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) การนำความรู้หรือวิทยาการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดการกับข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
          เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม เพื่อผลิต เผยแพร่ และจัดเก็บสื่อสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ
                         


ระบบสารสนเทศ (Information system) ประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญคือ

1) ฮาร์ดแวร์
          ฮาร์ดแวร์ (Hardware) เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการกับสารสนเทศ ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ซึ่งนับว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ
2) ซอฟต์แวร์
          ซอฟต์แวร์ (Software) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งการให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้ ภายใต้ขอบเขตคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมนั้นๆ แบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
                  - ซอฟต์แวร์ระบบ (System software) เป็นชุดคำสั่งที่มีหน้าที่ึควบคุมการทำงานอุปกรณ์และซอฟแวร์ทั้งหมดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์

             


  - ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้กับงานตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน





3) ข้อมูล
            ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความสมบูรณ์ ถูกต้อง แม่นยำ และเชื่อถือได้ โดยจะถูกรวบรวมและป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ

4) บุคลากร
           บุคลากร (People) จะต้องมีความรู้และความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ โดยแบ่งออกเป็นผู้พัฒนาและผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
5) ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
             ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Procedure) ผู้ใช้งานจะต้องปฏิบัติตามระเบียบและวิธีการปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ



ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
           ด้านการศึกษา ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานเพื่อการศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ อีกทั้งยังถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
           ด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลจำนวนมากได้ถูกรวบรวมและบันทึกไว้ในรูปของสื่อบันทึกประเภทต่างๆ ซึ่งสามารถเก็บรวบรวมเอกสารหรือหนังสือต่างๆทั้งหมดไว้และนำข้อมูลกลับมาใช้ได้ตลอดเวลา
           ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม การสื่อสารแบบไร้สายเข้ามามีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็ว
           ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและการทดลองด้านวิทยาศาสตร์ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งสิ้น
           ด้านความบันเทิง รูปแบบการนำเสนอที่ตอบสนองความต้องการทั้งภาพและเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ที่สะดวกและรวดเร็ว

                   
         
แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
     - การติดต่อสื่อสาร สะดวก และรวดเร็วมาก
     - ลดความเหลื่อมล้ำของผู้คนในสังคม
     - อุปกรณ์มีขนาดกะทัดรัดและราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
     - ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทำให้มีช่องทางการดำเนินธุรกิจและกิจกรรมต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
                      
ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
     - พฤติกรรมเลียนแบบจากเกมที่ใช้ความรุนแรง
     - ทำให้การพบปะของผู้คนลดน้อยลง
     - การเข้าถึงข้อมูลบนระบบเครือข่าย ทำให้เกิดช่องทางการโจรกรรมเพิ่มมากขึ้น
                  
อาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
     - นักเขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์ (programmer)
     - ผู้ดูแลและบริหารระบบเครือข่าย (network administrator)
     - ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์ (webmaster)
     



Adobe Photoshop
Photoshop เป็นโปรแกรมของบริษัท Adobe (อ่านว่า อะ-โด-บี้) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโปรแกรมกราฟิครายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม Illustrator, PageMaker และ Acrobat

โปรแกรม Photoshop เวอร์ชั่นแรกนั้นเริ่มต้นสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1990 และได้รับการพัฒนามาเรื่อย ๆ จากเวอร์ชั่น 2, 2.5, 3, 4, 5, 5.5 เวอร์ชั่น 6, 7, CS จนถึงเวอร์ชั่นล่าสุดในปัจจุปัน ที่เรียกกันว่าเวอร์ชั่น CS3 , CS4 โดยได้ทำการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกับภาพกราฟิคขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมที่เน้นใช้งานเพื่อการสร้างภาพสิ่งพิมพ์ ก็หันมาเน้นเกี่ยวกับการจัดการภาพกราฟิคที่ใช้บนเว็บมากยิ่งขึ้น และนอกจากนี้แล้วยังได้สร้างโปรแกรม ImageReady ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างภาพเคลื่อนไหวควบคู่มากับโปรแกรม Photoshop อีกด้วย เพื่อเพิ่มความสามารถเกี่ยวกับการทำภาพกราฟิคที่ใช้สำหรับการทำเว็บโดยเฉพาะ

ปัจจุบันโปรแกรม Photoshop เป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้สร้างเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นการนำมาสร้างหรือตกแต่งภาพ เนื่องมาจากคุณสมบัติที่โดดเด่น ใช้งานง่าย มีเอฟเฟคต่าง ๆ ให้เลือกใช้งานมากมาย

จุดกำเนิดจริงๆ ของ Photoshop หลายคนคงคิดว่า Photoshop เกิดมาจากทีมโปรแกรมเมอร์ของ Adobe แต่จริงๆ มันถูกสร้างโดยสองพี่น้องนักศิกษาปริญญาเอก กับพนักงานของ ILM พี่น้องคู่นี้คือ Thomas Knoll นักศึกษาปริญญาเอกที่ University of Michigan 



Tomas Knoll


John Knoll

ในขณะนั้น เขาทำโปรแกรมแสดงผลกราฟิกบน Mac Plus โดยใช้ชื่อว่า Display เมื่อน้องชายของเขา คือ John ซึ่งเป็นนักถ่ายภาพสมัครเล่น และทำงานที่ ILM มาเห็นโปรแกรมเข้า ก็บอกว่ามันเหมือนกับโปรแกรม Pixar Image Computers (สมัยที่ Pixar ยังอยู่กับ LucasFilm และยังไม่ทำหนัง)

ทั้งสองคนจึงมองเห็นโอกาสธุรกิจ Display เพิ่มความสามารถในการแปลงภาพเข้ามาตามที่ John เห็นสมควรก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น ImagePro และไปเร่ขายตามบริษัทซอฟต์แวร์ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ สุดท้ายมาเจอกับ Adobe และก็กลายเป็น Photoshop ที่เรารู้จักกันจนทุกวันนี้

วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

My Profile

My Profile




นางสาว ศิริลักษณ์  บุญรอด
ชื่อเล่น นุก
ฉายา ซิ่ม
เกิดวันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม 2540
อายุ 15 ปี
กรุ๊ปเลือด โอ
สีที่ชอบ ฟ้า น้ำเงิน ดำ แดง
น้ำหนัก 62 กิโลกรัม
ส่วนสูง 165 เซนติเมตร
ประวัติการศึกษา
   - โรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา
   - โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์
ศิลปินที่ชื่นชอบ Teen Top Infinite Boyfriend Btob
อีเมล์ Noooook_41@hotmail.com